อะไร คือ RIPC (Rural Industrialization and Project Cycle) หลังจากที่ได้ไปอบรมมาระหว่างวันที่ 1 - 11 มิถุนายน 2553 ที่ โรงแรมรอยัล ปริ๊นเซส กรุงเทพฯ มาทำความรู้จักกันเลยค่ะ
เรื่อง “แผนพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม National and Industrial Development Plan”
วิทยากร นางสุนทราลักษณ์ เพ็ชรกูล ผู้อำนวยการส่วนอุตสาหกรรมสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ดร.มารยาท สมุทรสาคร ผู้อำนวยการส่วนมหภาคและฐานข้อมูล สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
อ.มารยาท สมุทรสาคร พูดช่วงแรกเกี่ยวกับความเชื่อมโยงของการพัฒนาเศรษฐกิจมหภาคและจุลภาค การเกิดวิกฤตเศรษฐกิจการเงิน วิกฤตต้มยำกุ้งปี 2540 และวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ปี 2551 และบริบทการเปลี่ยนแปลงของโลก ที่นำไปสู่การพัฒนาแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่11 อาทิ
- กฎ กติกาใหม่ของโลกในการบริหารจัดการด้านเศรษฐกิจและสังคมโลก
- การปรับตัวเข้าสู่เศรษฐกิจโลกแบบหลายศูนย์กลาง รวมทั้งเอเชีย และกลุ่มใหม่ที่มาแรกในขณะนี้ คือ กลุ่ม BRIC
- การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของโลกอย่างต่อเนื่อง
- การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก ก่อให้เกิดความเสียหายหลายด้าน
- ความมั่นคงทางอาหารและพลังงานที่เป็นปัญหาสำคัญในอนาคต
- ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
อ.สุนทราลักษณ์ เพ็ชรกุล เสนอการวิเคราะห์วิวัฒนาการของแผนพัฒนาอุตสาหกรรมที่ผ่านมา ดังนี้
แผน 1-2 อุตสาหกรรมช่วงนี้เป็นการส่งเสริมอุตสาหกรรมที่ใช้วัตถุดิบ แรงงานในต่างประเทศ เน้นให้ความช่วยเหลืออุตสาหกรรมขนาดย่อม และอุตสาหกรรมครอบครัว จัดหาที่ดินเพื่อตั้งโรงงาน
ผลการพัฒนาช่วงนี้ อุตสาหกรรมมีมีการเจริญเติบโตค่อนข้างดี มีโรงงานจดทะเบียนเพิ่มขึ้น
แผน 3-4 ส่งเสริมอุตสาหกรรมการส่งออก ทดแทนการนำเข้า กระจายอุตสาหกรรมออกจากเมืองหลวง ส่งเสริมอุตสาหกรรมในเขตภูมิภาค โดยแผน 3 มีการจัดตั้ง สร้างนิคมอุตสาหกรรม แผน4 สนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมควบคู่กับการพัฒนาเกษตร
ผลการพัฒนา โครงสร้างอุตสาหกรรมยังพึ่งพิงวัตถุดิบจากต่างประเทศ มีการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงสูง จนเกิดวิกฤตในเรื่องของราคาน้ำมัน โรงงานกระจุกตั้งอยู่ในเมือง
แผน 5-6 เริ่มแยกนโยบายชัดเจน เน้นการส่งเสริมการลงทุนค่อนข้างสูง
ผลการพัฒนา ในแผน 5 การขยายตัวของอุตสาหกรรมต่ำกว่าเป้าหมาย เกิดการว่างงานเป็นจำนวนมาก ช่วงแผน 6 อัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น โรงงานกระจุกตัวอยู่ใน กทม. เริ่มมีปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม การขาดแคลนแรงงานฝีมือ
แผน 7-8 เร่งรัดการขยายบริการพื้นฐาน ฝึกอบรมพัฒนาฝีมือแรงงาน พัฒนาการให้บริการและระบบการคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา สร้างความสมดุลของการผลิตกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ผลการพัฒนา แผน 7 การขยายตัวด้านเศรษฐกิจสูง แต่เริ่มมีปัญหาสังคม ด้านวัตถุดิบ การเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ สำหรับแผน 8 เป็นช่วงเกิดวิกฤตเศรษฐกิจปี 40 ทำให้การเจริญเติบโตภาคเศรษฐกิจหดตัว
แผน 9-10 ต่อเนื่องจากแผน 7-8 เริ่มมองตลาดใหม่ และเตรียมความพร้อมเพื่อแสดงโอกาสจากการเปิดเสรีทางการค้า สร้างความสมดุลทางการผลิตกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ผลการพัฒนา เฉพาะแผน 9 เศรษฐกิจขยายตัวดีขึ้นประเทศไทยมีขนาดทางเศรษฐกิจใหญ่เป็นลำดับที่ 20 ของโลก มีฐานการผลิตหลากหลายขึ้น แต่ยังพึ่งการนำเข้าปัจจัยสำคัญจากต่างประเทศ ตลอดจนโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งยังมีปัญหา
หัวข้อการบรรยายถัดมา คือวิเคราะห์บรรยากาศการลงทุนที่มีผลต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมในประเทศ ได้กล่าวถึงผลการวิจัยที่จัดทำเมื่อปี 50 ปัจจัยที่มีผลต่อการลงทุน ซึ่งราคาน้ำมันเป็นปัจจัยลำดับที่ 1 รองลงมาคือ ปัจจัยการผลิตและอัตราแลกเปลี่ยน และในมุมมองของผู้ประกอบการต่อบรรยากาศการลงทุนที่รุนแรงมากในปี50 อันดับ 1 คือ เศรษฐกิจมหภาคมีความหันหวนรองลงมาคือ นโยบายภาครัฐขาดความแน่นอน และขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะตามลำดับ
ช่วงบ่าย อ.มารยาท บรรยายหลักการเมืองอุตสาหกรรมนิเวศ
Symbiosis : การอยู่รวมกันแบบอิงอาศัย และได้ผลประโยชน์ร่วมกัน และได้แบ่งกลุ่มการนำเสนอแนวคิดการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมนิเวศของไทย
หัวใจหลักของการพัฒนาเศรษฐกิจคือ
1. วาระแห่งชาติ
2. ทุกภาคส่วนให้ความสำคัญ
3. ทุกคนมีส่วนร่วม
เรื่อง “สภาวะปัจจุบันและแนวโน้มในการพัฒนาอุตสาหกรรม Present Conditions and Development”
วิทยากร นายสมเกียรติ คีลาวัฒน์ ผอ.ศูนย์การศึกษาและวิจัยทางด้านโลจิสติกส์ ม.ศรีปทุม
1. การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเศรษฐกิจการค้าโลกที่มีแนวโน้มภาคเอเชียสูงขึ้นจากเดิม
ปี คศ. 1782(2528) ภาพรวม ยุโรป และสหรัฐฯ 57 % เอเชีย 20%
การคาดการณ์ปี คศ.2009-2014 (2552-2557) ยุโรป และสหรัฐฯ 51% เอเชีย 28%
2. การเปลี่ยนแปลงการเงินของโลก จากโครงสร้างการค้าส่งผลให้แถบเอเชียมีเงินออมสูงขึ้น แต่ก็เป็นลักษณะการออมจากเอเชียไปลงทุนด้านตราสารค้ำประกันต่างๆ ซึ่งมีความเสี่ยงสูงในสหรัฐ
3. ความร่วมมือระหว่างประเทศ
ความร่วมมือจาก ASEAN +3, +6 (ไทย มาเลเซีย พม่า อินโดนีเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ +/จีน ญี่ปุ่น เกาหลี+/อินเดีย ออสเตรเลีย โฮจิเนีย) รวมถึงการใช้เงินสกุลเดียวกัน(AEC) และการเปิดการค้าเสรี APAC,FTA
4. โครงสร้างเศรษฐกิจไทย ขึ้นอยู่กับ
- โครงสร้างเศรษฐกิจโลก,การเปลี่ยนแปลงการเงินของโลก, การรวมกลุ่ม ASEAN รวมถึง AEC (การใช้เงินสกุลเดียวกัน) ที่จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทย
- การพึ่งพาการค้าโลกในด้าน Import – Export, การลงทุนจากต่างประเทศ, การท่องเที่ยว และการเป็นศูนย์กลางการกระจาย (HUB) ด้านการเงินและการขนส่ง
ประเด็นปัญหาที่รอคำตอบสำหรับโครงสร้างเศรษฐกิจไทย
- ฟื้นตัวได้ดีหรือไม่
- นโยบายภาครัฐที่สำคัญเป็นอย่างไร
- ต้องมีการกระตุ้นเศรษฐกิจอีกหรือไม่
- ปัจจัยเสี่ยงมีอะไรบ้าง
แนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่สำคัญ ด้านการฟื้นตัว เน้นสหรัฐฯ
- มาตรการภาครัฐ
- อาจจะไม่ดีเท่าที่คาดการณ์
- ต้องกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่ม
ปัญหาที่คาดว่าจะยังมีอยู่ในสหรัฐ
- สถาบันการเงินยังมีการล้ม
- การว่างงานสูง
- การลงทุนในตราสารที่ก่อให้เกิดหนี้สิน
- การผันผวนของค่าเงิน
- วิกฤตหนี้ภาครัฐ
กราฟที่แปลง GDP ปี 2009(2552) GDP โลก 3% เอเชีย 7 % ตะวันออกกลาง 4% สหรัฐ 1%เศษ ที่แสดงให้เห็นถึงศักยภาพเศรษฐกิจของเอเชีย
ปัญหาการว่างงานของสหรัฐ หลังการใช้แผนกระตุ้นเศรษฐกิจแล้วกลับไม่ช่วยให้อัตราว่างงานลดลง แต่กลับเพิ่มสูงกว่าที่คาดการณ์มาก นอกจากนั้นเป็นภาพรวมที่เกี่ยวข้องกับการคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจโลก เช่น กราฟแสดงแนวโน้มการล้มของสถาบันการเงินของสหรัฐ และสถิติการล้มของสถาบันการเงิน สถิติการขาดดุลการค้า รวมถึงมูลค่าเมื่อเปรียบเทียบกับปัจจัยที่มีผลกระทบเช่น ราคาน้ำมัน สถิติหนี้สาธารณะของโลก-สหรัฐ แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มเศรษฐกิจของสหรัฐ ยุโรป ที่เปลี่ยนแปลลงไป/วิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น
การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย
ปี 2008(2551) เทียบกับปี 1997(2540) ยังอยู่ในศักยภาพที่ดี พร้อมที่จะรับมือกับการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจโลกได้ เช่น หนี้ต่างประเทศลดลง หนี้สินในภาคธุรกิจต่อทุนลดลลง
แนวโน้มของเศรษฐกิจไทยปี 2553
แผ่วลงในบางช่วง ยังคงพอไปได้ ปัญหาการว่างงานยังคงมีอยู่ ความผันผวนเศรษฐกิจโลก การเมือง มาบตาพุด คุณภาพนโยบายของภาครัฐ
ประมาณเศรษฐกิจปี 2553 (ไทย)
GDP อยู่ที่ประมาณ 3.5 – 4.5% การลงทุนรวม 4.6% การบริโภครวม 2.8% ดุลบัญชีสะพัด 4.1% เงินเฟ้อ 3.4% การว่างงาน 1.3%
ดัชนีวัดที่สำคัญทางเศรษฐกิจ
1. ด้านเศรษฐกิจ
- รายได้ภาคเกษตรกรรม - รายได้ภาคอุตสาหกรรม
- รายได้การส่งออก นำเข้า - รายได้การท่องเที่ยว
- ความสามารถ(อัตรากำลังการผลิต) - dkiv6xF48 [ibF48
ด้านการผลิตคงเหลือในแต่ละสาขาอุตสาหกรรม
- การคาดการณ์ความเชื่อมั่นของผู้บริโภค - การลงทุนส่วนบุคคล
- การลงทุนด้านการก่อสร้าง - รายได้ – รายจ่ายภาครัฐ
- เงินคงคลังภาครัฐ - N P L
2. ด้านการเงิน
- อัตราแลกเปลี่ยนทั้งด้านพื้นฐาน - ดุลบัญชีเดินสะพัด
- บัญชีสถานการณ์เงินของประเทศ - เงินลงทุนต่างประเทศ
- หนี้ต่างประเทศ
3. ด้านเสถียรภาพ
- อัตราเงินเฟ้อ - การจ้างงาน / การว่างงาน
สรุป
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
ปี 2553
ปี 2554
GDP
3.3 - 5.3
2.8-4.8
เงินเฟ้อพื้นฐาน
1.3 – 2.3
1.8 – 2.8
เงินเฟ้อทั่วไป
3.0 – 5.0
2.0 – 4.0
การอุปโภค บริโภค
3.5 – 5.5
2.5 – 4.5
การลงทุนภาคเอกชน
9.5 – 11.5
10.0 – 12.0
การส่งออกสินค้าและบริการ
12.5 – 15.5
9.5 – 12.5
การนำเข้าสินค้าและบริการ
2.3 – 2.5
13.0 – 16.0
การเปลี่ยนยุทธศาสตร์ของ กสอ.สู่ภูมิภาค โดย ผอ.เดชา จาตุธนานันท์
ยุทธศาสตร์ คือการเลือกกิจกรรมที่แสดงถึงความแตกต่างจากคู่แข่ง โดยอาศัยความต้องการของลูกค้าที่จะสามารถเข้าถึงความต้องการได้ และสามารถเสนอกิจกรรมที่จำเป็นต่อลูกค้าได้อย่างมุ่งมั่น
รูปแบบของการวางแผนยุทศาสตร์ โดยใช้เครื่องมือ A B C D E รูปแบบการประเมินโดยใช้เครื่องมือ SWOT ซึ่งวิเคราะห์ศักยภาพภายในองค์กรแลภายนอกองค์กร และการแปลงกลยุทธ์โดยวิสัยทัศน์ไปสู่ Strategy Map ไปสู้เป้าหมาย ไปสู้ตัวชี้วัด เป็นแผน Action Plan
โมเดลของทฤษฎีของยุทศาสตร์ประกอบ 1. ปัญหาที่ใส่เข้าไปประกอบด้วยของภาพ Macro ตัวชี้วัดในอดีต ตัวอย่างที่ดี ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย นโยบายแลแผนพัฒนาเศรษฐกิจ 2 การค้นหารูปแบบประกอบการวิเคราะห์ GAP การปรับปรุงคุณค่าวิสัยทัศน์แลพันธกิจ การวิเคราะห์ทิศทางกลยุทธ์ 3 การนำยุทธศาสตร์ไปใช้โดยการเลือกกลยุทธ์
แนวทางของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 11 มีการสร้างความเข้มแข็งของภาคและเศรษฐกิจของประเทศอย่างยั่งยืน มติ ครม. เกี่ยวกับการแบ่งกลุ่มจังหวัด 10 กลุ่มจังหวัด ความต้องการของกลุ่มเป้าหมายและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เปรียบเทียบแนวทางการส่งเสริม SMEs วิสัยทัศน์ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คือ เป็นองค์การหลักในการนำภูมิปัญญา นวัตกรรมองค์ความรู้เพื่อการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมไทยให้มั่นคงและพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน พัมธกิจ ค่านิยม การวิเคราะห์ GAP เป้าประสงค์ การพัฒนาเป้าประสงค์ เป้าประสงค์ของกรมคือ 1 วิสาหกิจขนาดกลางแลขนาดย่อมและวิสาหกิจชุมชนมีศักยภาพในการแข่งขันสูงขึ้น 2 วิสาหกิจที่มีศักยภาพของไทยสามารถอยู่ในระดับ World Class 3 เกิดผู้ประกอบการใหม่เพิ่มขึ้น 4 ผู้รับบริการมีความพึงพอใจ
1 การวิเคราะห์ทิศทางยุทธศาสตร์ SDA ประกอบด้วยความสามารถของเจ้าหน้าที่และเครือข่าย + ความเสี่ยง 2 พันธกิจหรือภาระหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับองค์กร 3 ส่วนแบ่งการให้บริการเทียบกับคู่แข่ง 4 แนวโน้มความต้องการของกลุ่มเป้าหมายขององค์กร เพื่อหากลยุทธโดย Balanced Scorecard กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมเครื่องมือการส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้แก่ 1 ทำการอบรม 2 ปรึกษาแนะนำ 3 ศึกษาความเป็นไปได้ 4 ศึกษาดูงาน 5 ออกแบบสร้างการพัฒนา 6 เชื่อมโยงเครือข่าย 7 แสวงหาความร่วมมือ 8 สนับสนุนเงินทุนหมุนเวียน 9 ประสานงาน
ยุทธศาสตร์กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมมี 1 การสร้างและพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมให้เติบโตและแข่งขันได้ 2 การสนับสนุนปัจจัยเอื้อต่อการประกอบธุรกิจอุตสาหกรรม 3 การพัฒนาประสิทธิภาพขององค์กร แผนยุทศาสตร์มี 4 มิติ คือ 1 ผลการดำเนินงาน 2 ผู้รับบริการ 3 กรบวนการ 4 เวลา 5 ความเชื่อมั่น เป้าประสงค์ตัวเลขวัดได้ตอบวิสัยทัศน์
เรื่อง “การวางแผนกลยุทธ์ Strategic Planning”
วิทยากร นายฉัตรมงคล แน่นหนา ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
การวางแผนกลยุทธ์คือ การกำหนดแนวทางการดำเนินงานให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมทั้งภายนอกและภายในองค์กร โดยการกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนและกำหนดแนวทางที่สามารถผลักดันให้เป้าหมายบรรลุผลสำเร็จ และสามารถติดตามประเมินผลของการดำเนินการได้
ในการวางแผนกลยุทธ์ ต้องรูเขารู้เรา คือ ต้องวิเคราะห์สถานการณ์ภายนอกและภายใน โดยวิเคราะห์ดังนี้
1.สถานการณ์ภายนอกวิเคราะห์ว่า ลูกค้าเราคือใคร ลูกค้าต้องการอะไร มีอะไรเป็นตัวช่วยเรา และมีอะไรบ้างเป็นตัวฉุดเรา
2.สถานการณ์ภายใน พิจารณาจากองค์กรนั้นมีอะไรเด่น มีอะไรด้อยที่จะไปตอบสนองความต้องการของลูกค้าภายใต้ตัวช่วยและตัวฉุดนั้น
3.วิเคราะห์ สังเคราะห์หรือสรุปสถานการณ์ เพื่อกำหนดวิสัยทัศน์หรือเป้าหมายใหญ่ขององค์กรว่ามีทิศทางเป็นอย่างไร
4.ระบุพันธกิจว่าต้องดำเนินการอะไรบ้าง เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ ภายใต้ขอบเขตภารกิจตามกฎหมาย
5.กำหนดประเด็นยุทธศาสตร์
6.กำหนดกลยุทธ์หรือวิธีที่จะทำให้ประเด็นยุทธศาสตร์สามารถสำเร็จตามเป้าประสงค์ได้ โดยใช้ข้อมูลจาก S W O T มาเขียนกลยุทธ์ เช่น ถ้าเราเอาจุดแข็งกับโอกาสมาวิเคราะห์ร่วมกันจะได้เป็นกลยุทธ์เชิงรุก หรือถ้าเอาจุดแข็งกับอุปสรรคมาวิเคราะห์ร่วมกัน กลยุทธ์ที่ได้จะเป็นกลยุทธ์แบบป้องกันตัว เป็นต้น
7. เลือกกลยุทธ์ที่เหมาะสมโดยใช้ Balance Score Card มาช่วยในการคิดกลยุทธ์ โดยพยายามวางกลยุทธ์ให้ครอบคลุมทั้ง 4 มิติ คือ มิติประสิทธิผล มิติประสิทธิภาพ มิติคุณภาพในการให้บริการ และมิติการพัฒนาองค์กร เมื่อได้กลยุทธ์แล้ว ให้นำมาแปลงเป็นโครงการและกิจกรรมต่อไป
เรื่อง “องค์ประกอบของแผนปฏิบัติการ : วัตถุประสงค์ เป้าหมาย และผลกระทบ Elements of the Action Plan : Objectives,Targets and Impacts”
วิทยากร นายไว จามรมาน ผู้อำนวยการสถาบันทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ประกอบด้วย
1. จากแผนการบริหารราชการแผ่นดินสู่แผนปฏิบัติราชการกระทรวง/ กรม
2. องค์ประกอบของแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี
3. ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการ
โดยมีเนื้อหาสรุปพอสังเขป ดังนี้
· พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 เป็นการเปลี่ยนแปลง
ครั้งสำคัญของระบบแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี เพราะมีการกำหนดถึงผลสัมฤทธิ์ของงาน ส่วนราชการ /บุคคลผู้รับผิดชอบ ซึ่งเกิดจากแนวคิดตามรัฐธรรมนูญปี 2540 แผนปฏิบัติราชการ (Business Plan) ภายใต้การจัดทำแผนพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 เป็นกลไกที่ล้อมาจากภาคเอกชน เป็นการต้องการให้เกิดการบูรณาการระหว่างงานของแต่ละกระทรวงไปสู่ภูมิภาค เพื่อให้ผลสัมฤทธิ์ดีขึ้น ประสบผลสำเร็จมากขึ้น แต่การทำงานจะยากขึ้น
ทั้งนี้มีการวัดผลโดยใช้หลัก Balance Scorecard ผ่าน KPI หรือระบบ Corporate Scorecard โดยมี ครม.เป็นผู้กำหนด ซึ่งเมื่อกำหนดแล้วจะต้องกำหนดเป้าประสงค์® ตัวชี้วัด ® ค่าเป้าหมาย ® กลยุทธ์
· ระบบแผนการบริหารราชการแผ่นดิน มีที่มาคือ
1. จากแผนนโยบาลของรัฐบาล
2. จาก Vision ของประเทศ (ประเทศไทยใช้ vision 10 ปี) หรือที่เรียกว่า Thailand Milestone (Benchmarking) และ vision 2010/2020 จนมาเป็นแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี ®แผนกระทรวง / กรม ®แผนกลุ่มจังหวัด ®จังหวัด ® แผนปฏิบัติราชการประจำปี
· การจัดทำแผนปฏิบัติราชการ จะต้องมีองค์ประกอบ ดังนี้
1. Target เป้าหมาย ที่ต้องกำหนด / ตั้งวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน
2. Process กระบวนการเป็นอย่างไร (กำหนดโดยกิจกรรม หรือโปรแกรมต่างๆ)
3. Output ผลสัมฤทธิ์ / ผลที่ได้รับ (รวมถึงผลผลิตที่เพิ่มขึ้น)
4. Outcome การวัดผล (การประเมิน)
· หลักของประเด็นยุทธศาสตร์ ต้องประกอบด้วย
1. วิเคราะห์ปัญหา
2. ทำลายปัญหานั้นทิ้ง (ซึ่งต่างจากภาคเอกชนที่ไม่ค่อยมองปัญหา จะมองแต่โอกาส โดยภาครัฐจะมีบทบาทเหนือกว่าภาคเอกชน)
3. กำหนดเป้าประสงค์ (Goal)
4. กำหนดตัวชี้วัด
5. ค่าเป้าหมาย
6. กลยุทธ์
· Flagship คือ โครงการเรือธง ของหน่วยงานที่ประกอบด้วยโครงการ 2 ประเภท คือ
1. โครงการที่ต้องมี
2. โครงการที่มุงผลสัมฤทธิ์
· องค์ประกอบของแผนปฏิบัติการ ประกอบด้วย วัตถุประสงค์ ® เป้าหมาย ® ผลกระทบ
· การตั้งวัตถุประสงค์ จะต้องมาจากหลัก 2 ข้อ คือ
1. โอกาสที่จะเป็นไปได้
2. ความต้องการของภาคเอกชน (กลุ่มเป้าหมาย)
· การพัฒนา SMEs ตามแผนยุทธศาสตร์ ต้องคำนึงถึง
1. การวิเคราะห์ SMEs
2. การวางแผน
3. การเยียวยา
· สาเหตุของการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม คือ
1. การเพิ่มมูลค่า ,เปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรม
2. เพื่อปรับปรุง/พัฒนากระบวนการผลิต เพื่อลดต้นทุน ,ข้อยกเว้นเรื่องภาษี หรือการลดภาษี
· แนวคิดของหลักเศรษฐกิจพอเพียง ที่เกี่ยวข้องตามกลยุทธ์ของ อก. คือ
1. เศรษฐกิจพอเพียงแบบระบบ Cluster
2. ระบบที่เกี่ยวกับการแบ่งงานร่วมกัน เพื่อพัฒนาทั้ง 2 ฝ่าย (Co-Evolution) เช่น อุตสาหกรรม + เกษตร / เกษตร + สิ่งทอ
· ในส่วนของการวิเคราะห์เพื่อจัดทำแผนยุทธศาสตร์ ต้องคำนึงถึง Impact ประกอบด้วย
- เศรษฐกิจ ® GDP , ตัวเลข
- สังคม ® รายได้ , คุณภาพชีวิต
- สิ่งแวดล้อม ® คุณภาพน้ำ , อากาศ
· การส่งเสริม SMEs ต้องคำนึงถึง
1. หาวิธีให้ SMEs ลดต้นทุนในระยะยาว (ทั้งต้นทุนภายใน และต้นทุนนอกภาคการผลิต)
2. ขยายขนาดการผลิตให้ใหญ่ขึ้น (ผลผลิตเยอะขึ้น ต้นทุนต่อหน่วยจะลดลง)
3. Elasticity ที่คำนึงถึง Demand
เพื่อเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในองค์กร ของศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 6 ซึ่งมีความสะดวก เข้าถึงแหล่งข้อมูลอย่างรวดเร็ว ทุกที่ ทุกเวลา โดยใช้ระบบสารสนเทศ IT เป็นสื่อกลางให้พวกเรา ได้แลกเปลี่ยนระหว่างกัน
วันพุธที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
วันพุธที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
กำจัดไวรัส Autorun สำหรับผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ทุกท่าน
ถ้าคุณเป็นผู้หนึ่งที่ใช้งานคอมพิวเตอร์และใช้ Flash Drive หรือ USB hard disk ในการโอนถ่ายข้อมูลระหว่างเครื่อง คุณทราบหรือไม่ว่าคุณกำลังเสี่ยงกับการติดไวรัสอย่างมาก โดยเฉพาะไวรัส AutoRun ซึ่งเป็นไวรัสที่ผมได้พบบ่อยมากๆ
Virus Autorun บน Flash Drive
อาการที่สังเกตุง่ายๆ เมื่อติดไวรัส AutoRun แล้ว นั่นคือ เราจะไม่สามารถเปิดไฟล์งานได้โดยตรง จะขึ้นคำว่า "Open with" และถ้าเราเข้าไปดูรายชื่อไฟล์ใน Flash Drive จะพบไฟล์ที่ชื่อว่า "Autorun.ini" ถ้าเครื่องคอมฯ ของคุณติดไวรัสนี้แล้ว แค่เพียงนำ Flash Drive ของคนอื่น มาเสียบก็จะทำให้ติดไวรัส AutoRun ได้ทันที
วิธีกำจัดไวรัส AutoRun
เพียงแค่ download และติดตั้งโปรแกรม CPE17 Autorun Killer ซึ่เป็นฟรีโปรแกรมที่
สามารถหา download มาติดตั้งใน "Startup" และสั่งให้รันทุกครั้งที่เปิด Windows โปรแกรมจะตรวจสอบการเสียบ Flash Drive อัตโนมัติ และจะทำกาำรลบไฟล์ Autorun รวมทั้งไฟล์ที่มีนามสกุล .EXE ใน root ของ Flash Drive
• Download โปรแกรม CPE17 Autorun Killer ขนาดไฟล์ประมาณ 52 KB
ทิปเพิ่มเติม
• ห้ามทำการ copy โปรแกรมเก็บไว้ใน root directory ของ Flash Drive เพราะจะถูกลบอัตโนมัติ
ก่อนการใช้งาน Flash Drive ทุกครั้ง ควรทำการรัน scan virus ก่อนทุกครั้ง
(ข้อมูลจาก --> http://www.it-guides.com)
ถ้าคุณเป็นผู้หนึ่งที่ใช้งานคอมพิวเตอร์และใช้ Flash Drive หรือ USB hard disk ในการโอนถ่ายข้อมูลระหว่างเครื่อง คุณทราบหรือไม่ว่าคุณกำลังเสี่ยงกับการติดไวรัสอย่างมาก โดยเฉพาะไวรัส AutoRun ซึ่งเป็นไวรัสที่ผมได้พบบ่อยมากๆ
Virus Autorun บน Flash Drive
อาการที่สังเกตุง่ายๆ เมื่อติดไวรัส AutoRun แล้ว นั่นคือ เราจะไม่สามารถเปิดไฟล์งานได้โดยตรง จะขึ้นคำว่า "Open with" และถ้าเราเข้าไปดูรายชื่อไฟล์ใน Flash Drive จะพบไฟล์ที่ชื่อว่า "Autorun.ini" ถ้าเครื่องคอมฯ ของคุณติดไวรัสนี้แล้ว แค่เพียงนำ Flash Drive ของคนอื่น มาเสียบก็จะทำให้ติดไวรัส AutoRun ได้ทันที
วิธีกำจัดไวรัส AutoRun
เพียงแค่ download และติดตั้งโปรแกรม CPE17 Autorun Killer ซึ่เป็นฟรีโปรแกรมที่
สามารถหา download มาติดตั้งใน "Startup" และสั่งให้รันทุกครั้งที่เปิด Windows โปรแกรมจะตรวจสอบการเสียบ Flash Drive อัตโนมัติ และจะทำกาำรลบไฟล์ Autorun รวมทั้งไฟล์ที่มีนามสกุล .EXE ใน root ของ Flash Drive
• Download โปรแกรม CPE17 Autorun Killer ขนาดไฟล์ประมาณ 52 KB
ทิปเพิ่มเติม
• ห้ามทำการ copy โปรแกรมเก็บไว้ใน root directory ของ Flash Drive เพราะจะถูกลบอัตโนมัติ
ก่อนการใช้งาน Flash Drive ทุกครั้ง ควรทำการรัน scan virus ก่อนทุกครั้ง
(ข้อมูลจาก --> http://www.it-guides.com)
เลือกซื้อคอมพิวเตอร์อย่างไรให้เหมาะสม
การเลือกชื้อคอมพิวเตอร์ ก่อนอื่นผู้ซื้อควรคำนึงวัตถุประสงค์หลัก หรือความต้องการในการใช้คอมพิวเตอร์ในด้านต่าง ๆ ของตนเองไม่ว่าจะเป็นสำหรับการทำงาน หรือเพื่อความบันเทิง เนื่องจากงานต่างๆ จะมีส่วนสำคัญในการพิจารณาเลือกชื้ออุปการณ์ให้ตรงตามความต้องการ ซึ่งในปัจจุบันนี้ ผู้ใช้ทั่วไปนิยมกำหนดรายละเอียดและเลือกซื้ออุปกรณ์ต่างๆ ด้วยตนเอง เพื่อให้ได้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ตรงตามความต้องการมากที่สุด อีกทั้งยังเป็นการควบคุมงบประมาณในการซื้อได้อีกทางหนึ่งด้วย เราอาจจำแนกคอมพิวเตอร์ออกตามลักษณะการใช้งานได้เป็น 3 ประเภทได้ดังนี้
1.คอมพิวเตอร์สำหรับงานเอกสารและโปรแกรมเบื้องต้น
คอมพิวเตอร์ในระดับนี้ เหมาะสำหรับผู้ที่มีความต้องการใช้คอมพิวเตอร์ในลักษณะงานทั่วๆไป เช่นการพิมพ์งาน การดูหนัง ฟังเพลง และการใช้อินเตอร์เนท ซึ่งงานเหล่านี้ สามารถเลือกส่วนประกอบในระดับราคาประหยัด จะทำให้ได้เครื่องคอมพิวเตอร์ตามต้องการในระดับราคาที่ประหยัด
2.คอมพิวเตอร์สำหรับความบันเทิง
คอมพิวเตอร์ในระดับนี้ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการใช้คอมพิวเตอร์ในการฟังเพลง ดูภาพยนตร์ ในระดับคุณภาพเสียงแบบดิจิตอลหรือเล่นเกมส์แบบ 3 มิติโดยเฉพาะ ซึ่งจะนิยมเลือกส่วนประกอบที่มีประสิทธิภาพในระดับปานกลาง แต่เน้นอุปกรณ์เฉพาะด้าน ใช้ CPU ความเร็วปานกลาง แล้วเลือก VGA Card ที่ระดับความเร็วสูง และเลือกลำโพงในระดับที่ดีพอควร
3.คอมพิวเตอร์สำหรับงานระดับมืออาชีพ
คอมพิวเตอร์ในระดับนี้ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการทำงานในระดับมืออาชีพ เช่น วิศวกร สถาปนิกออกแบบอาคาร Graphic Designer หรือต้องการตัดต่อภาพยนตร์ ซึ่งผู้ซื้อที่มีความต้องการในระดับนี้มักจะมีงบประมาณในการเลือกซื้อที่มากเพียงพอในการเลือกซื้ออุปกรณ์รวมถึงอุปกรณ์เฉพาะด้าน ตามที่ต้องการจึงทำให้ราคานั้นอาจอยู่ในระดับค่อนข้างสูง
(ข้อมูลจาก --> http://www.hs1pmq.com/adsl.htm)
การเลือกชื้อคอมพิวเตอร์ ก่อนอื่นผู้ซื้อควรคำนึงวัตถุประสงค์หลัก หรือความต้องการในการใช้คอมพิวเตอร์ในด้านต่าง ๆ ของตนเองไม่ว่าจะเป็นสำหรับการทำงาน หรือเพื่อความบันเทิง เนื่องจากงานต่างๆ จะมีส่วนสำคัญในการพิจารณาเลือกชื้ออุปการณ์ให้ตรงตามความต้องการ ซึ่งในปัจจุบันนี้ ผู้ใช้ทั่วไปนิยมกำหนดรายละเอียดและเลือกซื้ออุปกรณ์ต่างๆ ด้วยตนเอง เพื่อให้ได้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ตรงตามความต้องการมากที่สุด อีกทั้งยังเป็นการควบคุมงบประมาณในการซื้อได้อีกทางหนึ่งด้วย เราอาจจำแนกคอมพิวเตอร์ออกตามลักษณะการใช้งานได้เป็น 3 ประเภทได้ดังนี้
1.คอมพิวเตอร์สำหรับงานเอกสารและโปรแกรมเบื้องต้น
คอมพิวเตอร์ในระดับนี้ เหมาะสำหรับผู้ที่มีความต้องการใช้คอมพิวเตอร์ในลักษณะงานทั่วๆไป เช่นการพิมพ์งาน การดูหนัง ฟังเพลง และการใช้อินเตอร์เนท ซึ่งงานเหล่านี้ สามารถเลือกส่วนประกอบในระดับราคาประหยัด จะทำให้ได้เครื่องคอมพิวเตอร์ตามต้องการในระดับราคาที่ประหยัด
2.คอมพิวเตอร์สำหรับความบันเทิง
คอมพิวเตอร์ในระดับนี้ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการใช้คอมพิวเตอร์ในการฟังเพลง ดูภาพยนตร์ ในระดับคุณภาพเสียงแบบดิจิตอลหรือเล่นเกมส์แบบ 3 มิติโดยเฉพาะ ซึ่งจะนิยมเลือกส่วนประกอบที่มีประสิทธิภาพในระดับปานกลาง แต่เน้นอุปกรณ์เฉพาะด้าน ใช้ CPU ความเร็วปานกลาง แล้วเลือก VGA Card ที่ระดับความเร็วสูง และเลือกลำโพงในระดับที่ดีพอควร
3.คอมพิวเตอร์สำหรับงานระดับมืออาชีพ
คอมพิวเตอร์ในระดับนี้ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการทำงานในระดับมืออาชีพ เช่น วิศวกร สถาปนิกออกแบบอาคาร Graphic Designer หรือต้องการตัดต่อภาพยนตร์ ซึ่งผู้ซื้อที่มีความต้องการในระดับนี้มักจะมีงบประมาณในการเลือกซื้อที่มากเพียงพอในการเลือกซื้ออุปกรณ์รวมถึงอุปกรณ์เฉพาะด้าน ตามที่ต้องการจึงทำให้ราคานั้นอาจอยู่ในระดับค่อนข้างสูง
(ข้อมูลจาก --> http://www.hs1pmq.com/adsl.htm)
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)