วันจันทร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ภูมิปัญญาการย้อมสีแดงจากครั่ง



ครั่ง เป็นตัวแมลงเล็กๆ มีขนาดโตเท่าตัวไร ดำเนินชีวิตโดยวิธีใช้ปากดูดกินน้ำเลี้ยงจากต้นไม้เป็นอาหารและถ่ายมูลออกมาเป็นสีแดงเกาะติดอยู่บนกิ่งไม้ที่ตัวครั่งเกาะทำรังอยู่

การทำสีแดงจากครั่ง การทำสีจากครั่ง สีจากครั่งที่ได้จากการสกัดน้ำล้างครั่งโดยสารละลาย (ด่างชนิดอ่อน) เช่นโซเดียมคาร์บอเนต หรือ โซเดียมไบคาร์บอเนต เมื่อแยกเอาส่วนที่ไม่ละลายออก เหลือแต่น้ำครั่งแล้วเอาไปเคี่ยวให้แห้งผึ่งและบดเป็นผงนำไปใช้สีจากครั่งนี้ใช้ย้อมผ้าไหม ฝ้าย ย้อม ขนสัตว์ และใช้ผสมปรุงอาหารและขนม จากการวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์สีจากครั่งไม่เป็นพิษแก่ ร่างกายแต่อย่างใด

วิธีการย้อมครั่งสูตรที่ 1
นำครั่งมาตากแดดให้แห้ง ตั้งไฟต้มน้ำให้เดือด นำฝ้ายชุบน้ำให้เปียก นานประมาณ 6 ชั่วโมง บิดพอเหมาะ กระตุกให้เรียงเส้น นำลงไปแช่ในน้ำสีที่เตรียมไว้ 30 นาที ยกลง บิดให้แห้งล้างน้ำให้สะอาด

วิธีการย้อมครั่งสูตรที่2
การย้อมสีแดงครั่ง ใช้ครั่ง 2 กิโลกรัม ต่อฝ้าย 1 กิโลกรัม นำครั่งตำให้แหลกแช่น้ำให้อ่อนดีใส่ ถุงหรือห่อผ้าแขวนรองน้ำที่หยดไว้ น้ำสีแรกเป็นสีแดงเข้ม เติมน้ำกรองอีกเป็นสีที่ 2 และทำอีก เป็นน้ำสีที่ 3 แต่ตามธรรมดาใช้เพียง น้ำที่ 3 หากเกินกว่านี้ไปสีจะจืดย้อมไม่ค่อยติด

วิธีการย้อมครั่งสูตรที่3
การย้อมสีแดงจากครั่ง ครั่งดิบ 1 กิโลกรัม มะขามป้อม 8-10 กิโลกรัม วิธีทำ นำผลมะขามป้อมที่เตรียมไว้โขลกให้ละเอียด บีบกรองเอาแต่น้ำของผลมะขามป้อม (ส่วนกากทิ้งไว้) นำฝ้ายที่เตรียมพร้อมจะย้อมซักน้ำสะอาดบิดให้หมาดสลัดฝ้ายให้คลายตัว เสร็จแล้วนำมาคลุกกับน้ำมะขามป้อมที่เตรียมไว้ บีบพอหมาดนำไปตากแดดประมาณ 3-4 วัน

วิธีการย้อมครั่งสูตรที่4
น้ำครั่งดิบประมาณ 1 กิโลกรัมต่อน้ำด่างประมาณ 15 ลิตร นำครั่งดิบตำให้ละเอียด นำไป ผสมกับน้ำด่าง (ซึ่งได้จากน้ำขี้เถ้า) ต้มจนเดือด เสร็จแล้วเอาฝ้ายที่เตรียมไว้ลงย้อม ถ้าสีจาง เติมครั่งลงไปอีกจะได้สีแดงตามต้องการ

วิธีการย้อมครั่งสูตรที่5
ตำครั่งให้ละเอียดนำไปต้ม จนกระทั่งน้ำครั่งละลายมีสีแดงเข้มนำเส้นฝ้ายหรือเส้นไหมที่ เตรียมไว้ลงต้มประมาณ 15 นาที หรือมากกว่านั้นดูจนน้ำสีครั่งจืด จึงนำฝ้ายหรือไหมนั้นขึ้น จากน้ำครั่งที่ต้มบิดจนแห้งนำไปผึ่งแดดจนแห้ง u3648 .ก็บไว้ใช้ต่อไป

กระบวนการย้อมครั่ง
การเตรียมฝ้ายสำหรับการย้อมใช้กระบวนการ เช่นเดียวกับการเตรียมฝ้ายในการย้อมทั่วไป เตรียมวัสดุในการย้อมครั่งให้ครบถ้วน ตำครั่งให้ละเอียดด้วยครกหรือบดให้ ละเอียดด้วยเครื่องบดไฟฟ้า ชั่งอัตราส่วนที่ระบุจนครบ


วัสดุอุปกรณ์
ถุงผ้า 1 ถุง กะละมังเส้นผ่าศูนย์กลาง 6 - 10 นิ้ว (จำนวน 2 - 3 ใบ)
ถ้วยตวง 1 ชุด
ตาชั่งละเอียด 1 ตัว
ช้อนตวง 1 ชุด
ไซริงด์ 6 ซีซี. และ 50 ซีซี 1 อัน
อัตราส่วนผสม
น้ำอุ่น 1 ถ้วยตวง
ครั่งตำละเอียดร่อนแล้ว 45 - 50 กรัม
โซดาแอช (โซดาคาร์บอเนต) 1 กรัม
น้ำยากันสีตก (fixing) 1 ซีซี.
pH. 12 ครั่งตำละเอียดร่อนแล้ว


ขั้นตอนในการผสม
นำครั่งร่อนละเอียดมาชั่ง น้ำหนัก 50 กรัมใส่ภาชนะ เติมน้ำอุ่นลงในภาชนะที่ใส่ครั่งร่อน ละเอียด 1 ถ้วยตวง
เติมโซดาแอช 1 กรัม ลงในภาชนะที่ใส่ ครั่งร่อนละเอียด นำน้ำยากันสีตก 1 ซีซี. (fixing) ผสมลงในภาชนะเดียวกับภาชนะที่เติมโซดาแอช คนให้ส่วนผสมเข้ากันดี โดยสังเกตจากฟองที่เกิดขึ้นด้านบนของน้ำย้อมครั่งรอจนกระทั่งฟองดังกล่าวยุบลงหมด เทส่วนผสมลงหมดลงในถุงผ้าเพื่อกรองเอาแต่น้ำสีแดงครั่ง (สีครั่ง)จากครั่งที่ดำหรือบดละเอียด นำฝ้ายที่เตรียมไว้แล้วจุ่มลงในน้ำย้อมครั่งบีบๆ คั้นๆ ให้น้ำย้อมครั่งซึมเข้าสู่เส้นใยฝ้ายจนทั่ว บีบ บิด ฝ้ายที่ย้อมพอหมาดนำขึ้นราวตากจนแห้ง หากสีครั่งที่ย้อมยังไม่เป็นที่พอใจ สามารถแก้ไขได้ โดยการย้อมทับเป็นครั้งที่ 2 3 4 5 หรือ 6จนกว่าจะได้สีที่ต้องการ
แช่ฝ้ายที่ย้อมสีครั่งเมื่อตากแห้งแล้วลงในน้ำยากันสีตกอีก 1 ครั้งโดยใช้น้ำยากันสีตก 1 ซีซี. หรือครึ่ง ถ้วยตวง(ในกรณีที่เป็นน้ำ) น้ำ 1 ถ้วยตวง แช่ฝ้ายที่ย้อมสีครั่งแล้ว 15 - 30 นาที หากเป็นผงใช้น้ำยากันสี ตก2 ช้อนแกงต่อน้ำอุ่น 1 ถ้วยตวง
บิดขึ้นราวตากให้แห้ง นำไปซักในน้ำสะอาดจนน้ำใสจะได้ฝ้ายสีแดงจากการย้อมครั่ง


ที่มา : http://ltt.cru.in.th/texler_klank.php

ครั่งคืออะไร


ครั่งคืออะไร
ครั่ง มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า แลกซิเฟอร์ แลคคา ( Laccifer lacca Kerr ) ครั่งเป็นแมลงชนิดหนึ่งตัวสีแดง ขนาดเล็กมาก อาศัยอยู่บนต้นไม้ ทำรังเป็นยางแข็งหุ้มกิ่งไม้ไว้เพื่อป้องกันตนเองให้พ้นภัยจากศรัตรู
ตัวครั่งมีประโยชน์ ใช้ทำสีสำหรับย้อมผ้าไหม หรือย้อมหน้าฟอกสีได้ รังครั่งมีประโยชน์ ใช้ทำสิ่งของได้หลายอย่างใช้เคลือบผ้าพันสายไฟฟ้า หรือเคลือบเม็ดยาให้เป็นมัน หรือทำสีผสมอาหารก็ได้ นอกจากนั้นยังใช้ทำสิ่งของชนิดอื่นๆได้อีกมากมายหลายชนิด ประโยชน์ที่สำคัญของครั่งคือ ใช้ทำแชลล์แลกสำหรับทาไม้ให้ขึ้นเงางดงามใช้ได้ทนทาน

ครั่ง ถือว่าเป็นของใช้กันมาตั้งแต่โบราณด้วยคุณสมบัติที่จะละลายเมื่อถูกความร้อน และจะแข็งตัวเมื่อเย็นลง คนสมัยโบราณใช้ครั่งสำหรับการปิดผนึกของสำคัญๆ นับตั้งแต่ของส่วนตัวไปจนถึงทรัพย์สมบัติที่มีค่าของประเทศ


ถึงแม้ว่าทุกวันนี้จะมีเครื่องมือทันสมัยมาทำหน้าที่แทนครั่งได้ แต่ว่าภาระกิจสำคัญๆ ของชาติหลายๆ อย่างก็มีครั่งเข้ามามีส่วนประกอบที่เกี่ยวข้องด้วย

ครั่งนั้นยังเป็นที่ต้องการของหลายประเทศทีเดียว แต่ว่ามีเพียงไม่กี่ประเทศเท่านั้นที่สามารถผลิตครั่งส่งออกได้ ประเทศไทยถือเป็นประเทศที่ส่งออกครั่งได้เป็นอันดับหนึ่งของโลก


ข้อมูลจากกรมส่งเสริมการเกษตร บอกไว้ว่า ครั่ง คือ ยางหรือชันชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นสารที่ขับถ่ายออกจากตัวแมลงครั่ง แมลงครั่งจะอาศัยอยู่ตามกิ่งไม้ที่ใช้เลี้ยงครั่ง และใช้ปากซึ่งมีลักษณะเป็นปากดูดเจาะเข้าไปในกิ่งของต้นไม้เพื่อดูดน้ำ เลี้ยงมาเป็นอาหารและขับถ่ายครั่ง ออกมาจากภายในตัวครั่งตลอดเวลาเพื่อห่อหุ้มตัวเป็นเกราะป้องกันอันตรายจาก สิ่งภายนอก มีลักษณะ นิ่มเหนียวสีเหลืองทอง เมื่อถูกอากาศนานเข้าจะแข็งและมีสีน้ำตาล ครั่งที่เก็บได้จากต้นไม้เรียกว่า ครั่งดิบ ซึ่งมีส่วนประกอบที่สำคัญ คือ เรซิน ขี้ผึ้ง สี ซาก ตัวครั่ง และสารอื่น ๆ ส่วนที่ใช้เป็นประ โยชน์ในทางอุตสาหกรรมคือ สีครั่ง และเนื้อครั่ง

เราสามารถใช้ ประโยชน์จากครั่งมากมาย เช่น ใช้สีจากครั่งในการย้อมผ้า ย้อมไหม ย้อมหนังสัตว์ ใช้ครั่งตกแต่งเครื่องใช้เครื่องเรือนให้สวยงาม ใช้เป็นส่วนประกอบในยาแผนโบราณเพื่อรักษาโรคบางชนิด นอกจากนี้ยังใช้ประโยชน์ด้านอุตสาหกรรมอีกมากมายทีเดียว สุดที่จะพรรณนาไว้ ณ ที่นี้

ปัจจุบันการซื้อขายครั่งได้กระทำกันอย่างกว้างขวาง มีโรงงานผลิตอุตสาหกรรมครั่งในประเทศไทย ส่วนใหญ่โรงงานเหล่านี้จะผลิตครั่งเม็ดเพื่อส่งออกตลาดต่างประเทศ ตลาดภายในประเทศ ได้แก่ โรงงานอุตสาหกรรม และร้านค้าของป่าทั่วไป โรงงานอุตสาหกรรมจะรับซื้อครั่งจากเกษตรกรโดยตรง หรือผ่านคนกลาง ซึ่งมีหน้าที่จัดหาครั่งป้อนโรงงาน สำหรับกรณีที่ปริมาณครั่งไม่มากนัก จะมีการซื้อขายกันตามร้านค้าของป่า ซึ่งร้านค้าเหล่านี้จะทำการรวบรวมครั่งแล้วนำส่งโรงงานเพื่อแปรสภาพต่อไป

การ เลี้ยงครั่งทำได้ ไม่ยุ่งยาก แต่ต้องมีต้นไม้ที่เหมาะสม ต้นไม้ที่นิยมเลี้ยงครั่งคือต้นจามจุรี ถ้าไม่รู้จักชื่อนี้เพราะไม่ได้จบจุฬาฯ ก็พอจะรู้จักชื่อนี้ไหมล่ะ “ฉำฉา” หรือว่า “ก้ามปู” มันก็ต้นเดียวกันนั่นแหละ


ผลผลิตครั่ง

ครั่งดิบ (Stick Lac) ซึ่งเป็นครั่งที่ผู้เลี้ยงแกะหรือขุดออกจากกิ่งไม้ต้นไม้ที่ใช้เลี้ยงครั่งเหลือแต่เนื้อครั่ง จะมีวัตถุเจือปนอยู่หลายอย่าง เช่น ชัน สีครั่ง ขี้ผึ้ง ซากของแม่ครั่งที่ตาย กิ่งหรือเปลือกไม้ เป็นต้น
ครั่งเม็ด (Seed Lac) เป็นครั่งดิบที่นำมาแยกสิ่งเจือปนออกโดยการตำหรือบดครั่งดิบให้แตกออกเป็นก้อนหยาบ ๆ หลังจากนั้นนำไปร่อนผ่านตระแกรง และนำเอาครั่งที่ได้ไปล้างน้ำ จะได้ครั่งสีแดง ซึ่งจะนำไปย้อมผ้าได้ การล้างครั่งจะล้างจนกระทั่งน้ำใส จึงนำเอาครั่งที่ได้ออกตากในที่ร่มที่มีลมผ่านตลอดเวลา จะได้ครั่งที่มีความชื้นประมาณร้อยละ 8-13 ก็สามารถจำหน่ายได้ (ครั่งดิบ 100 กิโลกรัม จะผลิตครั่งเม็ดได้ 80 กิโลกรัม)
เชลแลค (Shellac) เป็นครั่งที่นำมาจากครั่งดิบและครั่งเม็ด บรรจุในถุงผ้าให้ความร้อน และบิดถุงผ้าให้แน่นเข้าเรื่อย ๆ เนื้อครั่งจะค่อย ๆ ซึมออกจากถุงผ้าใช้มีดหรือวัสดุปาดเนื้อครั่งที่ซึมออกมาใส่บนภาชนะที่อังด้วยความร้อนจากไอน้ำ จะช่วยให้เนื้อครั่งนั้นมีความอ่อนตัว หลังจากนั้นนำเนื้อครั่งที่ได้มาทำการยืดเป็นแผ่นบาง ๆ ในขณะที่ครั่งยังร้อนอยู่แล้วปล่อยให้เย็น จึงหักออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ เรียกว่า "เชลแลค" (ครั่งดิบประมาณ 100 กิโลกรัม หรือครั่งเม็ดประมาณ 85 กิโลกรัม ใช้ทำเชลแลคได้ 65 กิโลกรัม)
ครั่งแผ่น (Button Lac) หรือ "ครั่งกระดุม" เป็นครั่งที่นำมาหลอดออกทำเป็นแผ่นกลมลักษณะคล้ายกระดุม มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3 นิ้ว และหนาประมาณเศษหนึ่งส่วนสี่นิ้ว ครั่งแผ่นมีวิธีทำคล้ายกับเชลแลค แต่ต่างกันที่เมื่อทำการย้ายครั่งที่หลอมละลายดีแล้ว ใช้เหล็กป้ายครั่งซึ่งกำลังร้อน ๆ อยู่ หยอดลงไปบนแผ่นเหล็กหน้าเรียบที่สะอาดและขัดเป็นเงาให้ได้ขนาดที่ต้องการ ทิ้งไว้ให้เย็น จะได้ครั่งแผ่นที่ต้องการ


ที่มา : http://www.thaiwoodcentral.com/blog