ปัจจุบันตลาดไหมไทย มีความต้องการผ้าไหมย้อมสีธรรมชาติมากขึ้น เพราะความสวยงาม และปลอดภัยต่อผู้ผลิตและผู้บริโภค แต่กระบวนการย้อมสีไหมด้วยสีธรรมชาติ ยังมีปัญหาหลายอย่าง อาทิ
ขั้นตอนที่ซับซ้อน
ผู้ย้อมต้องมีทักษะเป็นพิเศษ
ซึ่งส่วนใหญ่เป็นภูมิปัญญาดั้งเดิม
ผู้สืบทอดมีไม่มากนัก
ย่อมได้สีไม่สม่ำเสมอ สีตก และย้อมสีเดิมไม่ได้ อีกทั้งวัตถุดิบหายาก มีราคาสูง
จากการที่ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่
6
ได้ให้การสนับสนุนและพัฒนากระบวนการผลิตการย้อมเส้นไหมจากสีธรรมชาติ แก่ผู้ประกอบการไหมอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การถ่ายทอดองค์ความรู้ เรื่อง “เทคนิคการย้อมสีธรรมชาติในไหม” ในกิจกรรม KM ประจำปีงบประมาณ 2554
ที่ผ่านมา ทำให้ผู้ประกอบการไหมสามารถย้อมเส้นไหมได้สีที่สม่ำเสมอมากขึ้น สีไม่ตก
และสามารถย้อมซ้ำได้
แต่จากการทำงานดังกล่าว ศูนย์ฯ
พบว่าผู้ประกอบการไหมใช้วัตถุดิบไม่คุ้มค่า
กล่าวคือ
การย้อมไหมแต่ละครั้งต้องใช้วัตถุดิบที่ให้สีจำนวนมาก เช่น
เปลือก,ใบ,ลำต้นของพืช
แต่ผู้ย้อมไหมมักจะเทน้ำย้อมที่ใช้แล้วทิ้งไป ทั้งที่ยังสามารถนำมาใช้ย้อมเส้นไหมได้อีก สาเหตุเนื่องมาจากเส้นไหมมีไม่พอ และไม่มีภาชนะจัดเก็บ เพราะเป็นของเหลวที่มีปริมาณมาก
หากเก็บในรูปของเหลวเป็นเวลานานก็จะเน่าเสียได้ จึงเป็นปัญหาหนึ่งที่ควรได้รับการปรับปรุงแก้ไข ศูนย์ฯ
จึงเห็นควรให้นำกระบวนการจัดการความรู้
มารวบรวมความรู้ที่ได้จากแหล่งต่างๆ
มารวบรวม เรียบเรียง กลั่นกรองและถ่ายทอดองค์ความรู้เรื่อง “การทำสีผง
จากน้ำย้อมไหมสีธรรมชาติที่ใช้แล้ว”
เพื่อเป็นการพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ให้เกิดความคุ้มค่าต่อการใช้ทรัพยากรมากที่สุด
ขั้นตอนการดำเนินงาน
1. การเตรียมวัสดุ เครื่องมือ/อุปกรณ์
2. ขั้นตอนการผลิตสีครั่งผงและการย้อมสีผง
3. ขั้นตอนการผลิตสีครั่ง (น้ำ 2) ผงและการย้อมสีผง
4. ขั้นตอนการผลิตสีมะพูดผงและการย้อมสีผง
5. ขั้นตอนการผลิตสีสบู่เลือดผงและการย้อมสีผง
1. การเตรียมวัสดุ เครื่องมือ/อุปกรณ์
2. ขั้นตอนการผลิตสีครั่งผงและการย้อมสีผง
3. ขั้นตอนการผลิตสีครั่ง (น้ำ 2) ผงและการย้อมสีผง
4. ขั้นตอนการผลิตสีมะพูดผงและการย้อมสีผง
5. ขั้นตอนการผลิตสีสบู่เลือดผงและการย้อมสีผง
2.จากนั้น นำครั่งมาตำให้ละเอียดในครก
3. เติมน้ำ 10
ลิตร แช่ครั่งในน้ำนาน 12 ชั่วโมง
4. จากนั้นกรองน้ำสีครั่งด้วยผ้ากรองละเอียดแล้วเก็บไว้ย้อมน้ำสีที่
1
5. การสกัดสีครั่ง ครั้งที่ 2-3 ทำโดยเติมน้ำครั้งละอีก 5 ลิตร
6. แช่ครั่งในน้ำนาน 3 ชั่วโมง
แล้วกรองน้ำสีครั่งแล้วเก็บไว้
รวมกับน้ำสีที่ 1 ทำซ้ำจนกว่าเม็ดครั่งไม่มีสี รวมน้ำสกัดสีประมาณ 20 ลิตร
7. จากนั้นจึงกรองละเอียด 2-3 รอบ
8. นำไปต้มน้ำสีครั่งที่ 95 o C นานประมาณ 2-3 ชั่วโมง เพื่อให้ครั่งสุกและระเหยน้ำ
ให้เหลืออัตราส่วนที่ 10 ลิตร
9. ใช้วิธีการตากแดดให้แห้ง โดยการเทน้ำสีลงบนแผ่นพลาสติกทนความร้อน สูงประมาณ 1 นิ้ว เพื่อกั้นให้น้ำสีมีความหนา-บางสม่ำเสมอ 500
CC.ต่อถาด กว้าง x ยาว 34 x 48 cm.
10. นำไปตากแดดจัด 1 แดด
(ตากแห้ง) เมื่อครั่งแห้ง
ครั่งจะมีลักษณะเป็นลแผ่นฟิล์มติดบนแผ่นพลาสติก
11. แยกสีผงชั่งเพื่อหาปริมาณผลผลิต กรัม
หรือ เปอร์เซ็นต์ สำหรับพลาสติก
สามารถเก็บไว้ใช้ ครั้งต่อไปได้
และเก็บสีครั่งผงในภาชนะที่ป้องกันอากาศเข้าออก เช่น ถุงพลาสติก,ขวดหรือกระป๋องสีทึบเป็นต้น
12. นำน้ำครั่งที่ใช้ย้อมแล้ว (น้ำ 2 )
จำนวน 20 ลิตร
13. นำน้ำสีไปต้มที่ 95oC
นานประมาณ 2-3 ชั่วโมง
ให้ระเหยน้ำเหลืออัตราส่วนที่ 10 ลิตร
14. เทน้ำสีลงบนแผ่นพลาสติกทนความร้อน ซึ่งวางบนถาดมีขอบสูงประมาณ 1 นิ้ว เพื่อกั้นให้น้ำสีมีความหนา-บางสม่ำเสมอ
500 cc. ต่อถาดกว้าง x ยาว ขนาด 34 x 48 cm.
500 cc. ต่อถาดกว้าง x ยาว ขนาด 34 x 48 cm.
15. นำไปตากแดดจัด 1 แดด(ตากแห้ง)
16. แยกสีผงชั่งเพื่อหาปริมาณผลผลิต กรัม
หรือเปอร์เซ็นต์
17. เก็บสีผงในภาชนะที่ป้องกันอากาศเข้าออก
เช่น ถุงพลาสติก หรือ ขวดสีทึบ เป็นต้น
เพียงขั้นตอนง่ายๆ แค่นี้เองค่ะ... ท่านผู้ประกอบการก็จะได้สีผงธรรมชาติ เก็บไว้ใช้ได้นาน และช่วยประหยัดต้นทุน คุ้มค่า ไม่เสียเปล่า
ด้วยความปราถนาดีจาก KM Team ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 6