วันพุธที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

อะไร คือ RIPC

อะไร คือ RIPC (Rural Industrialization and Project Cycle) หลังจากที่ได้ไปอบรมมาระหว่างวันที่ 1 - 11 มิถุนายน 2553 ที่ โรงแรมรอยัล ปริ๊นเซส กรุงเทพฯ มาทำความรู้จักกันเลยค่ะ

เรื่อง “แผนพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม National and Industrial Development Plan”
วิทยากร นางสุนทราลักษณ์ เพ็ชรกูล ผู้อำนวยการส่วนอุตสาหกรรมสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ดร.มารยาท สมุทรสาคร ผู้อำนวยการส่วนมหภาคและฐานข้อมูล สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
อ.มารยาท สมุทรสาคร พูดช่วงแรกเกี่ยวกับความเชื่อมโยงของการพัฒนาเศรษฐกิจมหภาคและจุลภาค การเกิดวิกฤตเศรษฐกิจการเงิน วิกฤตต้มยำกุ้งปี 2540 และวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ปี 2551 และบริบทการเปลี่ยนแปลงของโลก ที่นำไปสู่การพัฒนาแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่11 อาทิ
- กฎ กติกาใหม่ของโลกในการบริหารจัดการด้านเศรษฐกิจและสังคมโลก
- การปรับตัวเข้าสู่เศรษฐกิจโลกแบบหลายศูนย์กลาง รวมทั้งเอเชีย และกลุ่มใหม่ที่มาแรกในขณะนี้ คือ กลุ่ม BRIC
- การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของโลกอย่างต่อเนื่อง
- การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก ก่อให้เกิดความเสียหายหลายด้าน
- ความมั่นคงทางอาหารและพลังงานที่เป็นปัญหาสำคัญในอนาคต
- ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม

อ.สุนทราลักษณ์ เพ็ชรกุล เสนอการวิเคราะห์วิวัฒนาการของแผนพัฒนาอุตสาหกรรมที่ผ่านมา ดังนี้
แผน 1-2 อุตสาหกรรมช่วงนี้เป็นการส่งเสริมอุตสาหกรรมที่ใช้วัตถุดิบ แรงงานในต่างประเทศ เน้นให้ความช่วยเหลืออุตสาหกรรมขนาดย่อม และอุตสาหกรรมครอบครัว จัดหาที่ดินเพื่อตั้งโรงงาน
ผลการพัฒนาช่วงนี้ อุตสาหกรรมมีมีการเจริญเติบโตค่อนข้างดี มีโรงงานจดทะเบียนเพิ่มขึ้น
แผน 3-4 ส่งเสริมอุตสาหกรรมการส่งออก ทดแทนการนำเข้า กระจายอุตสาหกรรมออกจากเมืองหลวง ส่งเสริมอุตสาหกรรมในเขตภูมิภาค โดยแผน 3 มีการจัดตั้ง สร้างนิคมอุตสาหกรรม แผน4 สนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมควบคู่กับการพัฒนาเกษตร
ผลการพัฒนา โครงสร้างอุตสาหกรรมยังพึ่งพิงวัตถุดิบจากต่างประเทศ มีการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงสูง จนเกิดวิกฤตในเรื่องของราคาน้ำมัน โรงงานกระจุกตั้งอยู่ในเมือง
แผน 5-6 เริ่มแยกนโยบายชัดเจน เน้นการส่งเสริมการลงทุนค่อนข้างสูง
ผลการพัฒนา ในแผน 5 การขยายตัวของอุตสาหกรรมต่ำกว่าเป้าหมาย เกิดการว่างงานเป็นจำนวนมาก ช่วงแผน 6 อัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น โรงงานกระจุกตัวอยู่ใน กทม. เริ่มมีปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม การขาดแคลนแรงงานฝีมือ
แผน 7-8 เร่งรัดการขยายบริการพื้นฐาน ฝึกอบรมพัฒนาฝีมือแรงงาน พัฒนาการให้บริการและระบบการคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา สร้างความสมดุลของการผลิตกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ผลการพัฒนา แผน 7 การขยายตัวด้านเศรษฐกิจสูง แต่เริ่มมีปัญหาสังคม ด้านวัตถุดิบ การเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ สำหรับแผน 8 เป็นช่วงเกิดวิกฤตเศรษฐกิจปี 40 ทำให้การเจริญเติบโตภาคเศรษฐกิจหดตัว
แผน 9-10 ต่อเนื่องจากแผน 7-8 เริ่มมองตลาดใหม่ และเตรียมความพร้อมเพื่อแสดงโอกาสจากการเปิดเสรีทางการค้า สร้างความสมดุลทางการผลิตกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ผลการพัฒนา เฉพาะแผน 9 เศรษฐกิจขยายตัวดีขึ้นประเทศไทยมีขนาดทางเศรษฐกิจใหญ่เป็นลำดับที่ 20 ของโลก มีฐานการผลิตหลากหลายขึ้น แต่ยังพึ่งการนำเข้าปัจจัยสำคัญจากต่างประเทศ ตลอดจนโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งยังมีปัญหา

หัวข้อการบรรยายถัดมา คือวิเคราะห์บรรยากาศการลงทุนที่มีผลต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมในประเทศ ได้กล่าวถึงผลการวิจัยที่จัดทำเมื่อปี 50 ปัจจัยที่มีผลต่อการลงทุน ซึ่งราคาน้ำมันเป็นปัจจัยลำดับที่ 1 รองลงมาคือ ปัจจัยการผลิตและอัตราแลกเปลี่ยน และในมุมมองของผู้ประกอบการต่อบรรยากาศการลงทุนที่รุนแรงมากในปี50 อันดับ 1 คือ เศรษฐกิจมหภาคมีความหันหวนรองลงมาคือ นโยบายภาครัฐขาดความแน่นอน และขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะตามลำดับ

ช่วงบ่าย อ.มารยาท บรรยายหลักการเมืองอุตสาหกรรมนิเวศ
Symbiosis : การอยู่รวมกันแบบอิงอาศัย และได้ผลประโยชน์ร่วมกัน และได้แบ่งกลุ่มการนำเสนอแนวคิดการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมนิเวศของไทย
หัวใจหลักของการพัฒนาเศรษฐกิจคือ
1. วาระแห่งชาติ
2. ทุกภาคส่วนให้ความสำคัญ
3. ทุกคนมีส่วนร่วม





เรื่อง “สภาวะปัจจุบันและแนวโน้มในการพัฒนาอุตสาหกรรม Present Conditions and Development”
วิทยากร นายสมเกียรติ คีลาวัฒน์ ผอ.ศูนย์การศึกษาและวิจัยทางด้านโลจิสติกส์ ม.ศรีปทุม


1. การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเศรษฐกิจการค้าโลกที่มีแนวโน้มภาคเอเชียสูงขึ้นจากเดิม
ปี คศ. 1782(2528) ภาพรวม ยุโรป และสหรัฐฯ 57 % เอเชีย 20%
การคาดการณ์ปี คศ.2009-2014 (2552-2557) ยุโรป และสหรัฐฯ 51% เอเชีย 28%
2. การเปลี่ยนแปลงการเงินของโลก จากโครงสร้างการค้าส่งผลให้แถบเอเชียมีเงินออมสูงขึ้น แต่ก็เป็นลักษณะการออมจากเอเชียไปลงทุนด้านตราสารค้ำประกันต่างๆ ซึ่งมีความเสี่ยงสูงในสหรัฐ
3. ความร่วมมือระหว่างประเทศ
ความร่วมมือจาก ASEAN +3, +6 (ไทย มาเลเซีย พม่า อินโดนีเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ +/จีน ญี่ปุ่น เกาหลี+/อินเดีย ออสเตรเลีย โฮจิเนีย) รวมถึงการใช้เงินสกุลเดียวกัน(AEC) และการเปิดการค้าเสรี APAC,FTA
4. โครงสร้างเศรษฐกิจไทย ขึ้นอยู่กับ
- โครงสร้างเศรษฐกิจโลก,การเปลี่ยนแปลงการเงินของโลก, การรวมกลุ่ม ASEAN รวมถึง AEC (การใช้เงินสกุลเดียวกัน) ที่จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทย
- การพึ่งพาการค้าโลกในด้าน Import – Export, การลงทุนจากต่างประเทศ, การท่องเที่ยว และการเป็นศูนย์กลางการกระจาย (HUB) ด้านการเงินและการขนส่ง

ประเด็นปัญหาที่รอคำตอบสำหรับโครงสร้างเศรษฐกิจไทย
- ฟื้นตัวได้ดีหรือไม่
- นโยบายภาครัฐที่สำคัญเป็นอย่างไร
- ต้องมีการกระตุ้นเศรษฐกิจอีกหรือไม่
- ปัจจัยเสี่ยงมีอะไรบ้าง
แนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่สำคัญ ด้านการฟื้นตัว เน้นสหรัฐฯ
- มาตรการภาครัฐ
- อาจจะไม่ดีเท่าที่คาดการณ์
- ต้องกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่ม

ปัญหาที่คาดว่าจะยังมีอยู่ในสหรัฐ
- สถาบันการเงินยังมีการล้ม
- การว่างงานสูง
- การลงทุนในตราสารที่ก่อให้เกิดหนี้สิน
- การผันผวนของค่าเงิน
- วิกฤตหนี้ภาครัฐ
กราฟที่แปลง GDP ปี 2009(2552) GDP โลก 3% เอเชีย 7 % ตะวันออกกลาง 4% สหรัฐ 1%เศษ ที่แสดงให้เห็นถึงศักยภาพเศรษฐกิจของเอเชีย

ปัญหาการว่างงานของสหรัฐ หลังการใช้แผนกระตุ้นเศรษฐกิจแล้วกลับไม่ช่วยให้อัตราว่างงานลดลง แต่กลับเพิ่มสูงกว่าที่คาดการณ์มาก นอกจากนั้นเป็นภาพรวมที่เกี่ยวข้องกับการคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจโลก เช่น กราฟแสดงแนวโน้มการล้มของสถาบันการเงินของสหรัฐ และสถิติการล้มของสถาบันการเงิน สถิติการขาดดุลการค้า รวมถึงมูลค่าเมื่อเปรียบเทียบกับปัจจัยที่มีผลกระทบเช่น ราคาน้ำมัน สถิติหนี้สาธารณะของโลก-สหรัฐ แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มเศรษฐกิจของสหรัฐ ยุโรป ที่เปลี่ยนแปลลงไป/วิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น
การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย
ปี 2008(2551) เทียบกับปี 1997(2540) ยังอยู่ในศักยภาพที่ดี พร้อมที่จะรับมือกับการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจโลกได้ เช่น หนี้ต่างประเทศลดลง หนี้สินในภาคธุรกิจต่อทุนลดลลง
แนวโน้มของเศรษฐกิจไทยปี 2553
แผ่วลงในบางช่วง ยังคงพอไปได้ ปัญหาการว่างงานยังคงมีอยู่ ความผันผวนเศรษฐกิจโลก การเมือง มาบตาพุด คุณภาพนโยบายของภาครัฐ
ประมาณเศรษฐกิจปี 2553 (ไทย)
GDP อยู่ที่ประมาณ 3.5 – 4.5% การลงทุนรวม 4.6% การบริโภครวม 2.8% ดุลบัญชีสะพัด 4.1% เงินเฟ้อ 3.4% การว่างงาน 1.3%
ดัชนีวัดที่สำคัญทางเศรษฐกิจ
1. ด้านเศรษฐกิจ
- รายได้ภาคเกษตรกรรม - รายได้ภาคอุตสาหกรรม
- รายได้การส่งออก นำเข้า - รายได้การท่องเที่ยว
- ความสามารถ(อัตรากำลังการผลิต) - dkiv6xF48 [ibF48
ด้านการผลิตคงเหลือในแต่ละสาขาอุตสาหกรรม
- การคาดการณ์ความเชื่อมั่นของผู้บริโภค - การลงทุนส่วนบุคคล
- การลงทุนด้านการก่อสร้าง - รายได้ – รายจ่ายภาครัฐ
- เงินคงคลังภาครัฐ - N P L
2. ด้านการเงิน
- อัตราแลกเปลี่ยนทั้งด้านพื้นฐาน - ดุลบัญชีเดินสะพัด
- บัญชีสถานการณ์เงินของประเทศ - เงินลงทุนต่างประเทศ
- หนี้ต่างประเทศ
3. ด้านเสถียรภาพ
- อัตราเงินเฟ้อ - การจ้างงาน / การว่างงาน
สรุป
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
ปี 2553
ปี 2554
GDP
3.3 - 5.3
2.8-4.8
เงินเฟ้อพื้นฐาน
1.3 – 2.3
1.8 – 2.8
เงินเฟ้อทั่วไป
3.0 – 5.0
2.0 – 4.0
การอุปโภค บริโภค
3.5 – 5.5
2.5 – 4.5
การลงทุนภาคเอกชน
9.5 – 11.5
10.0 – 12.0
การส่งออกสินค้าและบริการ
12.5 – 15.5
9.5 – 12.5
การนำเข้าสินค้าและบริการ
2.3 – 2.5
13.0 – 16.0


การเปลี่ยนยุทธศาสตร์ของ กสอ.สู่ภูมิภาค โดย ผอ.เดชา จาตุธนานันท์
ยุทธศาสตร์ คือการเลือกกิจกรรมที่แสดงถึงความแตกต่างจากคู่แข่ง โดยอาศัยความต้องการของลูกค้าที่จะสามารถเข้าถึงความต้องการได้ และสามารถเสนอกิจกรรมที่จำเป็นต่อลูกค้าได้อย่างมุ่งมั่น
รูปแบบของการวางแผนยุทศาสตร์ โดยใช้เครื่องมือ A B C D E รูปแบบการประเมินโดยใช้เครื่องมือ SWOT ซึ่งวิเคราะห์ศักยภาพภายในองค์กรแลภายนอกองค์กร และการแปลงกลยุทธ์โดยวิสัยทัศน์ไปสู่ Strategy Map ไปสู้เป้าหมาย ไปสู้ตัวชี้วัด เป็นแผน Action Plan
โมเดลของทฤษฎีของยุทศาสตร์ประกอบ 1. ปัญหาที่ใส่เข้าไปประกอบด้วยของภาพ Macro ตัวชี้วัดในอดีต ตัวอย่างที่ดี ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย นโยบายแลแผนพัฒนาเศรษฐกิจ 2 การค้นหารูปแบบประกอบการวิเคราะห์ GAP การปรับปรุงคุณค่าวิสัยทัศน์แลพันธกิจ การวิเคราะห์ทิศทางกลยุทธ์ 3 การนำยุทธศาสตร์ไปใช้โดยการเลือกกลยุทธ์
แนวทางของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 11 มีการสร้างความเข้มแข็งของภาคและเศรษฐกิจของประเทศอย่างยั่งยืน มติ ครม. เกี่ยวกับการแบ่งกลุ่มจังหวัด 10 กลุ่มจังหวัด ความต้องการของกลุ่มเป้าหมายและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เปรียบเทียบแนวทางการส่งเสริม SMEs วิสัยทัศน์ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คือ เป็นองค์การหลักในการนำภูมิปัญญา นวัตกรรมองค์ความรู้เพื่อการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมไทยให้มั่นคงและพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน พัมธกิจ ค่านิยม การวิเคราะห์ GAP เป้าประสงค์ การพัฒนาเป้าประสงค์ เป้าประสงค์ของกรมคือ 1 วิสาหกิจขนาดกลางแลขนาดย่อมและวิสาหกิจชุมชนมีศักยภาพในการแข่งขันสูงขึ้น 2 วิสาหกิจที่มีศักยภาพของไทยสามารถอยู่ในระดับ World Class 3 เกิดผู้ประกอบการใหม่เพิ่มขึ้น 4 ผู้รับบริการมีความพึงพอใจ
1 การวิเคราะห์ทิศทางยุทธศาสตร์ SDA ประกอบด้วยความสามารถของเจ้าหน้าที่และเครือข่าย + ความเสี่ยง 2 พันธกิจหรือภาระหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับองค์กร 3 ส่วนแบ่งการให้บริการเทียบกับคู่แข่ง 4 แนวโน้มความต้องการของกลุ่มเป้าหมายขององค์กร เพื่อหากลยุทธโดย Balanced Scorecard กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมเครื่องมือการส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้แก่ 1 ทำการอบรม 2 ปรึกษาแนะนำ 3 ศึกษาความเป็นไปได้ 4 ศึกษาดูงาน 5 ออกแบบสร้างการพัฒนา 6 เชื่อมโยงเครือข่าย 7 แสวงหาความร่วมมือ 8 สนับสนุนเงินทุนหมุนเวียน 9 ประสานงาน
ยุทธศาสตร์กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมมี 1 การสร้างและพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมให้เติบโตและแข่งขันได้ 2 การสนับสนุนปัจจัยเอื้อต่อการประกอบธุรกิจอุตสาหกรรม 3 การพัฒนาประสิทธิภาพขององค์กร แผนยุทศาสตร์มี 4 มิติ คือ 1 ผลการดำเนินงาน 2 ผู้รับบริการ 3 กรบวนการ 4 เวลา 5 ความเชื่อมั่น เป้าประสงค์ตัวเลขวัดได้ตอบวิสัยทัศน์





เรื่อง “การวางแผนกลยุทธ์ Strategic Planning”
วิทยากร นายฉัตรมงคล แน่นหนา ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

การวางแผนกลยุทธ์คือ การกำหนดแนวทางการดำเนินงานให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมทั้งภายนอกและภายในองค์กร โดยการกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนและกำหนดแนวทางที่สามารถผลักดันให้เป้าหมายบรรลุผลสำเร็จ และสามารถติดตามประเมินผลของการดำเนินการได้
ในการวางแผนกลยุทธ์ ต้องรูเขารู้เรา คือ ต้องวิเคราะห์สถานการณ์ภายนอกและภายใน โดยวิเคราะห์ดังนี้
1.สถานการณ์ภายนอกวิเคราะห์ว่า ลูกค้าเราคือใคร ลูกค้าต้องการอะไร มีอะไรเป็นตัวช่วยเรา และมีอะไรบ้างเป็นตัวฉุดเรา
2.สถานการณ์ภายใน พิจารณาจากองค์กรนั้นมีอะไรเด่น มีอะไรด้อยที่จะไปตอบสนองความต้องการของลูกค้าภายใต้ตัวช่วยและตัวฉุดนั้น
3.วิเคราะห์ สังเคราะห์หรือสรุปสถานการณ์ เพื่อกำหนดวิสัยทัศน์หรือเป้าหมายใหญ่ขององค์กรว่ามีทิศทางเป็นอย่างไร
4.ระบุพันธกิจว่าต้องดำเนินการอะไรบ้าง เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ ภายใต้ขอบเขตภารกิจตามกฎหมาย
5.กำหนดประเด็นยุทธศาสตร์
6.กำหนดกลยุทธ์หรือวิธีที่จะทำให้ประเด็นยุทธศาสตร์สามารถสำเร็จตามเป้าประสงค์ได้ โดยใช้ข้อมูลจาก S W O T มาเขียนกลยุทธ์ เช่น ถ้าเราเอาจุดแข็งกับโอกาสมาวิเคราะห์ร่วมกันจะได้เป็นกลยุทธ์เชิงรุก หรือถ้าเอาจุดแข็งกับอุปสรรคมาวิเคราะห์ร่วมกัน กลยุทธ์ที่ได้จะเป็นกลยุทธ์แบบป้องกันตัว เป็นต้น
7. เลือกกลยุทธ์ที่เหมาะสมโดยใช้ Balance Score Card มาช่วยในการคิดกลยุทธ์ โดยพยายามวางกลยุทธ์ให้ครอบคลุมทั้ง 4 มิติ คือ มิติประสิทธิผล มิติประสิทธิภาพ มิติคุณภาพในการให้บริการ และมิติการพัฒนาองค์กร เมื่อได้กลยุทธ์แล้ว ให้นำมาแปลงเป็นโครงการและกิจกรรมต่อไป






เรื่อง “องค์ประกอบของแผนปฏิบัติการ : วัตถุประสงค์ เป้าหมาย และผลกระทบ Elements of the Action Plan : Objectives,Targets and Impacts”
วิทยากร นายไว จามรมาน ผู้อำนวยการสถาบันทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ประกอบด้วย
1. จากแผนการบริหารราชการแผ่นดินสู่แผนปฏิบัติราชการกระทรวง/ กรม
2. องค์ประกอบของแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี
3. ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการ
โดยมีเนื้อหาสรุปพอสังเขป ดังนี้
· พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 เป็นการเปลี่ยนแปลง
ครั้งสำคัญของระบบแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี เพราะมีการกำหนดถึงผลสัมฤทธิ์ของงาน ส่วนราชการ /บุคคลผู้รับผิดชอบ ซึ่งเกิดจากแนวคิดตามรัฐธรรมนูญปี 2540 แผนปฏิบัติราชการ (Business Plan) ภายใต้การจัดทำแผนพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 เป็นกลไกที่ล้อมาจากภาคเอกชน เป็นการต้องการให้เกิดการบูรณาการระหว่างงานของแต่ละกระทรวงไปสู่ภูมิภาค เพื่อให้ผลสัมฤทธิ์ดีขึ้น ประสบผลสำเร็จมากขึ้น แต่การทำงานจะยากขึ้น
ทั้งนี้มีการวัดผลโดยใช้หลัก Balance Scorecard ผ่าน KPI หรือระบบ Corporate Scorecard โดยมี ครม.เป็นผู้กำหนด ซึ่งเมื่อกำหนดแล้วจะต้องกำหนดเป้าประสงค์® ตัวชี้วัด ® ค่าเป้าหมาย ® กลยุทธ์

· ระบบแผนการบริหารราชการแผ่นดิน มีที่มาคือ
1. จากแผนนโยบาลของรัฐบาล
2. จาก Vision ของประเทศ (ประเทศไทยใช้ vision 10 ปี) หรือที่เรียกว่า Thailand Milestone (Benchmarking) และ vision 2010/2020 จนมาเป็นแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี ®แผนกระทรวง / กรม ®แผนกลุ่มจังหวัด ®จังหวัด ® แผนปฏิบัติราชการประจำปี

· การจัดทำแผนปฏิบัติราชการ จะต้องมีองค์ประกอบ ดังนี้
1. Target เป้าหมาย ที่ต้องกำหนด / ตั้งวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน
2. Process กระบวนการเป็นอย่างไร (กำหนดโดยกิจกรรม หรือโปรแกรมต่างๆ)
3. Output ผลสัมฤทธิ์ / ผลที่ได้รับ (รวมถึงผลผลิตที่เพิ่มขึ้น)
4. Outcome การวัดผล (การประเมิน)

· หลักของประเด็นยุทธศาสตร์ ต้องประกอบด้วย
1. วิเคราะห์ปัญหา
2. ทำลายปัญหานั้นทิ้ง (ซึ่งต่างจากภาคเอกชนที่ไม่ค่อยมองปัญหา จะมองแต่โอกาส โดยภาครัฐจะมีบทบาทเหนือกว่าภาคเอกชน)
3. กำหนดเป้าประสงค์ (Goal)
4. กำหนดตัวชี้วัด
5. ค่าเป้าหมาย
6. กลยุทธ์
· Flagship คือ โครงการเรือธง ของหน่วยงานที่ประกอบด้วยโครงการ 2 ประเภท คือ
1. โครงการที่ต้องมี
2. โครงการที่มุงผลสัมฤทธิ์

· องค์ประกอบของแผนปฏิบัติการ ประกอบด้วย วัตถุประสงค์ ® เป้าหมาย ® ผลกระทบ

· การตั้งวัตถุประสงค์ จะต้องมาจากหลัก 2 ข้อ คือ
1. โอกาสที่จะเป็นไปได้
2. ความต้องการของภาคเอกชน (กลุ่มเป้าหมาย)

· การพัฒนา SMEs ตามแผนยุทธศาสตร์ ต้องคำนึงถึง
1. การวิเคราะห์ SMEs
2. การวางแผน
3. การเยียวยา

· สาเหตุของการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม คือ
1. การเพิ่มมูลค่า ,เปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรม
2. เพื่อปรับปรุง/พัฒนากระบวนการผลิต เพื่อลดต้นทุน ,ข้อยกเว้นเรื่องภาษี หรือการลดภาษี

· แนวคิดของหลักเศรษฐกิจพอเพียง ที่เกี่ยวข้องตามกลยุทธ์ของ อก. คือ
1. เศรษฐกิจพอเพียงแบบระบบ Cluster
2. ระบบที่เกี่ยวกับการแบ่งงานร่วมกัน เพื่อพัฒนาทั้ง 2 ฝ่าย (Co-Evolution) เช่น อุตสาหกรรม + เกษตร / เกษตร + สิ่งทอ

· ในส่วนของการวิเคราะห์เพื่อจัดทำแผนยุทธศาสตร์ ต้องคำนึงถึง Impact ประกอบด้วย
- เศรษฐกิจ ® GDP , ตัวเลข
- สังคม ® รายได้ , คุณภาพชีวิต
- สิ่งแวดล้อม ® คุณภาพน้ำ , อากาศ

· การส่งเสริม SMEs ต้องคำนึงถึง
1. หาวิธีให้ SMEs ลดต้นทุนในระยะยาว (ทั้งต้นทุนภายใน และต้นทุนนอกภาคการผลิต)
2. ขยายขนาดการผลิตให้ใหญ่ขึ้น (ผลผลิตเยอะขึ้น ต้นทุนต่อหน่วยจะลดลง)
3. Elasticity ที่คำนึงถึง Demand

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น